วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

081-4882499 วุฒิกร


ขายISC มอเตอร์เดินเบา  4G15, 63, 63T, 91,91T,92,92T,93, 93T DOHC ของเทียบจีน  เป็นของใหม่    รวมค่าขนส่งทั่ว
ประเทศ  ใช้ได้กับรถที่ใช้แก๊สและน้ำมัน หัววาล์วทนต่อการ Back Fire ได้เป็นอย่างดี  รับประกัน 30 วัน 
 
 2,000 บาท  พร้อมส่ง

ทดสอบให้ฟรีตามคลิป แต่ต้องถอดมอเตอร์ออกมาเองครับ  ไม่รับถอด ร่นนี้ใช้ เบอร์ 8 หรือไขควงแฉกเพื่อคลายน๊อตออก 2 ตัว

เสป็คของ ISC ตาม Part Number เส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันหมดทุกรุ่นต่างกันตรงระยะของจมูกวาวล์ (ส่วนปลายที่เป็นสีน้ำตาล)
E9T15271A -  ระยะจมูกวาวล์ 8.3mm +/– 0.1mm
E9T15292 - ระยะจมูกวาวล์  9.5mm +/– 0.2mm    in stock
E9T15293 - ระยะจมูกวาวล์  10.3mm +/– 0.3mm   in stock
E9T15295 – ระยะจมูกวาวล์  9.4mm
E9T15296 - ระยะจมูกวาวล์  9.4mm +/– 0.1mm
E9T15297 - ระยะจมูกวาวล์  7.6mm     
E9T15298 - ระยะจมูกวาวล์  8.0mm


ถ้าเครื่องยนต์สมบูรณ์ ทุกพาร์สามารถใส่แทนกันได้หมดแล้วใช้วิธีการปรับสกรูอากาศบนปีกผีเสื้อช่วย





ISC ตัวถังที่เป็น พลาสติกสามารถใช้แทน ตัวเดิมที่เป็นโลหะ ได้จริงหรือ?
   จริง 100 % ครับ มันถูกออกแบบมาเพื่อุลดต้นทุนและแก้จุดอ่อนเดิมของ ISC ที่เป็น โลหะ เนื่องจากตัวถังที่เป็นโลหะจะเป็นตัวเก็บสะสมความร้อนได้เป็นอย่างดีจึงทำให้ขดลวด
ของมอเตอร์มีอุณภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย ผลที่ตามมาคืออายุของขดลวดจะสั้นลง นอกจากนี้ตัวที่ design ใหม่ได้เพิ่มความต้านทานของขดลวดซึ่งจากเดิมอยู่ที่ประมาณ 33 โอห์ม มาเป็น 40 โอห์ม เพื่อป้องกันชุดขับกระแสที่อยู่ภายในกล่อง ECU เสียหาย(ข้อมูลจากต่างประเทศ) สังเกตุได้ว่า ISC ในรุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูล 4G หรือรถค่ายอื่นๆ ก็ตามตัวถังของ ISC จะเป็นพลาสติกทั้งสิ้น  ของใหม่ตัวถังที่เป็นโลหะไม่มีการผลิตออกมาแล้ว  ที่ขายๆ อยู่เป็นของข้างสต็อกหรือของมือสองของใหม่ที่ผลิตออกมาจะมีเฉพาะตัวถังที่เป็นพลาสติกเท่านั้นครับ
       
       หากรอบเดินเบาเริ่มมีปัญหา ควรถอด ISC ออกมาวัดความต้านทานเพราะหากขดลวดลัดวงจรและทำให้ความต้านทานมีค่าต่ำกว่า 20 โอหฺ์ม
เป็นเวลานานๆ จะทำใช้เกิดความร้อนสะสมที่ตัวขับกระแสซึ่งอยู่ภายในกล่อง ECU เกิดความเสียหายได้ (  ในสภาวะปกติจะมีกระแสไหลผ่านขดลวดอยู่ที่
12โวลท์/30 โอห์ม =0.4แอมป์  โดยจะขับกระแสออกมาในแต่ละเฟสเป็นช่วงเวลาประมาณ 10 mS  อุปกรณ์ขับกระแสที่อยู่ภายใน ECU
มีอัตราทนกระแสอยู่ที่ 2A ** พิกัดกระแสนี้ได้จากการสืบค้นข้อมูลจาก Web ต่างประเทศดังนั้นอาจมีความคลาดเคลื่อน** ในสภาวะปกติก็คงไม่มีปัญหาอะไร
เพราะทางผู้ผลิตได้ออกแบบเพื่อไว้แล้ว แต่ถ้าขดลวดเกิดการช็อตรอบภายในความต้านทานจะมีค่าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าความต้านทานมีคาต่ำกว่า 6 โอห์ม
จะทำให้เกิดความเสียหายได้)
  
     ***ยินดีทดสอบมอเตอร์ให้ตามในคลิปครับฟรี(ต้องถอดให้ผม) ถ้ามอเตอร์เสียจริงตัวแกนจะไม่สามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้ ทดสอบให้ฟรีไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้นครับลองแล้วเสียจะซื้อกับผมหรือที่อื่นๆ ก็ได้ครับตามสะดวก
     ***มอเตอร์ทุกตัวก่อนส่งมอบให้ลูกค้าทุกท่านได้ผ่านการทดสอบอีกครั้งกับชุดทดสอบนี้ (ตามคลิป)
   ***ย้ำว่าของจีนนะครับ ต้องยอมรับว่าความทนทานยังไงก็ไม่เท่ากับของแท้ญี่ปุ่น  ลองพิจารณาเพื่อเป็นทางเลือก เพราะราคาถูกกว่าของแท้มาก**** หากสินค้ามีปัญหาในระยะประกันเปลี่ยนตัวใหม่ให้ครับ
081-4882499 วุฒิกร
ร่มเกล้า 58  ลาดกระบัง กทม

สามารถใช้ได้กับ HYUNDAI SONATA (1994 - 1998) HYUNDAI SONATA GL (1994 - 1997) HYUNDAI SONATA GLS (1994 - 1997)
ISC CEDIA 4G18 เครื่อง 1600 CC หรือ 4G93 เครื่อง 1800 CC ตามลิงค์ด้านล่างครับ
http://www.club4g.com/index.php/topic,14607779.0.html
คอยล์จุดระเบิด CK  Cedia NEW LANCER  ตามลิงค์ด้านล่าง
http://www.club4g.com/index.php/topic,14626979.msg3758867.html
 มอเตอร์เดินเบามิซูบิชิ  ในรถตระกูลมิตซูบิชิในไทย มอเตอร์เดินเบาที่ใช้กันอยู่ทั้งหมด 3 แบบเท่านั้น
เครื่องแคมคู่ทั้งหมดจะเป็น 6 ขาปลั๊กใหญ่  ส่วนเครื่องแคมเดี่ยวหลังจาก ecar มาทั้งหมดจะเป็น 6 ขาปลั๊กเล็ก
ส่วนเครื่องแคมเดี่ยว ecar จะเป็นรูปแบบของ DC มอเตอร์แล้วไปขับเฟืองภายในตัวนี้เปรอะสุด มีโอกาสเสีย
ง่ายที่สุด
    มอเตอร์ควบคุมรอบเดินเบา หรือเรียกกันสั้นๆ ISC MOTOR  ต่างประเทศจะเรียกว่า IAC MOTOR 
ISC ย่อมาจาก Idle Speed Control ส่วน IAC ย่อมาจาก Idle Air Control  จริงๆ แล้ว การเรียก
IAC น่าจะถูกต้องกว่าเพราะ ECU ไม่ได้ควบคุมความเร็วแต่เป็นการควบคุมอากาศที่ไหลผ่านเข้าไปยังท่อไอดี
(ท่อไอดีรถบางรุ่นเป็นท่อไอดีร่วม หมายถึง ท่อไอดีทุกสูบถูกต่อเข้ามายังท่อร่วมตัวเดียวกัน  แต่บางรุ่นก็เป็นท่อไอ
ดีแยก) แต่ไม่ว่าจะเป็นท่อไอดีร่วมหรือไอดีแยก ตัว ISC จะถูกติดตั้งอยู่ก่อนหน้าท่อไอดีทั้งสิ้น โดยปกติ จะติดตั้ง
อยู่บริเวณตอนล่างของชุดลิ้นปีกผีเสื้อ
   หน้าที่ของ ISC ก็คือ ควบคุมการเพิ่มและลดปริมาณอากาศที่ไหลเข้าสู่ท่อไอดี  การเพิ่มปริมาณอากาศ หมายถึง
หดแกนมอเตอร์เพื่อให้อากาศเข้าสู่ท่อไอดีมากขึ้น   การลดปริมาณอากาศ หมายถึง ยืดแกนมอเตอร์ออกเพื่อให้อา
กาศเข้าสู่ท่อไอดีลดลง
  ทำไมการเปิดและปิดอากาศจึงมีผลต่อรอบเครื่อง?
   ในส่วนของท่อไอดีจะมี Sensor ตัวนึงติดตั้งอยู่เพื่อตรวจเช็คปริมาณอากาศว่ามีค่ามากน้อยเพียงใด  ในที่นี้ขอยกตัว
อย่าง LANCER CEDIA 1.6 รหัสเครื่อง 4G18 แคมชาร์ฟ เดี่ยว  บริเวณท่อร่วมไอดีจะมี MAP Sensor ติดตั้ง
อยู่เพื่อตรวจวัดปริมาณอากาศ  โครงสร้างของ MAP Sensor จะเป็นความต้านทาน 4 ตัวต่อในรูปแบบ Bridge ค่า
ความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงตามความดันอากาศที่ตรวจวัดได้ในขณะนั้น  ถ้าปริมาณอากาศมากขึ้นแรงดันที่ออก
จาก map ก็สูงขึ้นตามแรงดันนี้ถูกส่งต่อไปยัง ECU โดยเมื่อแรงดันสูงขึ้น ECU ก็จะสั่งจ่ายน้ำมันมากขึ้น การจ่าย
น้ำมันมากขึ้นก็คือการเปิดหัวฉีดให้นานขึ้นนั่นเอง ในทางกลับกันถ้าปริมาณอากาศในท่อไอดีลดลง ECU ก็จะสั่งจ่าย
น้ำมันน้อยลงตาม
 
  เวลาเอารถไปซ่อมช่างชอบบอกว่า เฟืองใน step พัง จริงหรือ ?
   ถ้าเป็น ECAR เครื่องแคมเดี่ยวนะใช่ครับ มันจะมีเฟืองอยู่ในชุดขับเสต็ป  แต่ถ้าหลังจาก ECAR แล้วไม่มีเฟืองครับ
มันเป็น STEPPING มอเตอร์แบบ 6 สาย ไม่มีเฟืองในมอเตอร์แน่นอน แต่จะเป็นเกลียวแทนครับเกลียวนี้จะอยู่ที่แกน
ของมอเตอร์ซึ่งจะต่อเข้ากับแกนของวาวล์ โอกาสเสียหายน้อยมากเพราะมันเป็นเกลียวขนาดใหญ่
 
   ที่บอกกันว่าเวลาปรับตั้งรอบเดินเบาหรือเปลี่ยน ISC ต้อง reset ecu จริงหรือ ? (อ้างอิง CEDIA และรถปีใหม่กว่า
เพราะไม่แน่ในว่าก่อนหน้า CEDIA ECU จะฉลาดเท่ากันหรือไม่)
    จะ reset หรือไม่ reset ก็ได้ครับ เพราะยังไงก็ต้องให้เรียนรู้ใหม่กรณีทำการรีเซต ECU   ECU จะโหลดค่ามาตร
ฐานจากโรงงานมาใช้ในการขับเสต็ป รวมถึงอุปกรณ์อื่นภายในตัวรถด้วย  แต่ถ้าไม่รีเซต ECU ก็จะนำค่าการปรับ step
ก่อนหน้านี้มาใช้ รอบเครื่องอาจมีการสวิงผิดปกติในช่วงแรก  
    ข้อดีของการ RESET   คือ ในช่วงแรกก่อนที่ ecu จะเริ่มเรียนรู้การปรับเสต็ป รอบเดินเบาจะไม่สวิงมาก
    ข้อเสียของการ RESET คือ  ระบบอื่นๆ ในรถจะถูกรีเซตด้วย โดยเฉพาะรถเกียร์ ออโต้
   
    ข้อดีของการไม่ RESET คือ ระบบอื่นๆ ในรถจะไม่ถูกรีเซต
    ข้อเสียของการไม่ RESET คือ ในช่วงแรกก่อนที่ ECU จะเริ่มเรียนรู้การปรับเสต็ป รอบเดินเบาอาจสวิงมากกว่าปกติ
   
       รูปแบบการปรับเสต็ปหลังจากการรีเซตจะเป็นการปรับไปทีละนิดๆ แล้ว ecu ก็จะตรวจสอบรอบเครื่อง ปรับรอบแรก
ยังไม่ได้ก็ปรับรอบสอง แล้วก็เช็ครอบเครื่องใหม่ทำเช่นนี้วนไปเรื่อยๆ  จนกระทั่งถึง set point  ตำแหน่ง set point นี้จะ
อ้างอิงจากตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อโดยอ่านค่ามาจาก TPS SENSOR นั่นเอง  ยกตัวอย่างสมมุติให้การชดเชยรอบเครื่องต้อง
หดแกนลง 1 มม เพื่อให้อากาศเข้าสู่ไอดีมากขึ้น  ถ้าเป็นค่ามาตรฐานหลังจากการ reset การหดแกนนี้จะทำไปทีละนิดๆ
สมมุติว่า ครั้งละ 0.1 มิล ECU จะต้องทำวนทั้งหมด 10 ครั้ง  แต่ถ้าเราให้ ECU เรียนรู้ไปเรื่อยๆ อาจใช้รถปกติสักวันนึง
หรือติดเครื่องแล้วเปิดแอร์ รอรอบเครื่องนิ่ง แล้วก็ปิดแอร์ รอรอบเครื่องนิ่ง ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ  หลายสิบครั้ง ตอนนี้ละครับ
ECU จะรู้แล้วว่าต้องปรับเสต็ปยังไง การตอบสนองของตัวมอเตอร์ก็จะเร็วขึ้น 
 ISC เสียซ่อมได้หรือไม่ ?
  ตัวสเต็ปมอเตอร์นี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ซ่อมครับ ต้องเข้าใจก่อนว่า มอเตอร์ก็คือมอเตอร์โครงสร้างเป็นขดลวด ถ้ามันตัว
ใหญ่เท่ากับมอเตอร์พัดลมและถอดออกมาได้ก็เอาออกมาพันคอยล์ใหม่ได้ครับ แต่ ISC  มันตัวเล็กนิดเดียวแถมแกะไม่ได้
หมดสิทธิที่จะมาพันใหม่ (กรณีขดลวดชำรุด) แล้วถ้าหัววาล์วมันสึกจะเปลี่ยนแค่หัวได้ไหม  อันนี้ก็ต้องทำใจครับเพราะ
ไม่มีขายแยกมอเตอร์ไม่เสียแต่หัววาวล์สึกก็ต้องเปลี่ยนทั้งตัว
จะรู้ได้ไงว่า ISC เสีย?
   ของอย่างนี้อาการมันฟ้องครับ รอบเดินเบาจะไม่นิ่งครับ  อาการที่ชัดเจนที่สุดกรณีมอเตอร์ชำรุด คือ เปิดแอร์  เข้าเกียร์ D
เหยียบเบรคอันนี้ภาระโหลดหนักสุด ถ้า ISC เสีย รอบตกเยอะเลยครับ  แต่ถ้าหัววาวล์สึกแต่มอเตอร์ไม่เสียมันจะกลับกันครับ
รอบมันจะสูงตลอด ยิ่งตอนแอร์ตัด หรือ ปลดเกียร์ D มา N รอบพุ่งเลยครับ อาการนี้เป็นไปได้ สองกรณี คือ หัววาวล์สึกกับ
คลายสกรูอากาศมากเกิน ลองดูที่สกรูอากาศถ้าคลายออกไม่มากแล้วมีอาการแบบนี้ก็หัววาวล์สึกครับ
แล้วถ้าเสียจะตรวจสอบได้ยังไง?
   เบื้องต้นก็คงต้องถอดออกมาดูสภาพและตรวจสอบความต้านทานของแต่ละขาตามรายละเอียดที่ผมระบุไว้ แต่ถ้าใช้ชัวร์
100% ต้องทำตามคลิปทดสอบผมครับ อันนี้รู้เลยว่าเสียไม่เสีย ไม่ต้องสงสัย ตามคลิปเป็นการขับ Step มอเตอร์เข้าออก
แบบ FULL STEP ทำทั้งหมด 50 ครั้ง ขับเข้า 25 ครั้ง ขับออก 25 ครั้ง  แต่ใน ECU น่าจะขับแบบ HALF STEP เพราะ
มันจะละเอียดกว่านี้  ถ้านำมาขับเสต็ปตามนี้แล้วมอเตอร์ไม่มีการติดขัดก็ใช้ได้ชัวร์ ความนี้ก็ไปแก้ปัญหาที่จุดอื่นว่าทำไมรอบ
ไม่นิ่ง   การวัดความต้านทานเพียงอย่างเดียวไม่สามารถยืนยันได้ว่ามอเตอร์ใช้งานได้ เคยเจอมาแล้วครับ ความต้านทาน
ปกติหมดแต่เอามาขับดูมอเตอร์ไม่หมุน
  
เปลี่ยน ISC ต้องเข้าศูนย์เพื่อปรับ STEP จริงหรือ?
     จะเข้าไปเสียตังค์ก็ได้ครับไม่ต่างกัน  ถ้าไม่เข้าก็ทำตามวิธีข้างต้น รอบเดินเบาจะผิดเพี้ยนในช่วงแรกที่ทำการเปลี่ยน ISC
หรืออาจจะปกติเลยก็เคยขึ้นอยู่กับ การขับ STEP ก่อนหน้าที่ ECU สั่งออกมา
ทำไม ISC ถึงมีราคาแตกต่างกันมาก?
     เป็นเรื่องธรรมดาที่ของ แท้ย่อมแพงกว่าของเทียม ส่วนของเทียมก็มีหลายราคาอีก อันนี้ก็แล้วแต่คุณภาพครับ ผู้ซื้อต้องเป็น
ผู้พิจารณาเองครับ  ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง ความน่าเชื่อถือของผู้ขาย รูปแบบการรับประกัน การเครมสินค้า มีปริมาณ
สินค้ามากน้อยเพียงพอหรือไม่หากมีปัญหามีสินค้าพร้อมเปลี่ยนให้เลยไหม